เตือนเกษตรกรปลูกมะพร้าวเฝ้าระวังแมลงดำหนามมะพร้าว
———-
นางสาวกัญณฐา อภินนท์ธนา เกษตรจังหวัดนครพนม เตือนเกษตรกรที่ปลูกมะพร้าวให้ระวังแมลงดำหนามมะพร้าว เนื่องจากบางพื้นที่พบการเข้าทำลาย จึงขอแจ้งให้เกษตรกรหมั่นสำรวจต้นมะพร้าวและเฝ้าระวังการระบาดของโรคเมื่อเริ่มพบใบมะพร้าวแห้งเหี่ยวสีน้ำตาล ให้เตรียมการป้องกันหรือขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัดเพื่อหาทางควบคุมป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง
วิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้
1. ในมะพร้าวต้นเตี้ย ตัดยอดที่ถูกแมลงกัดกินมาเก็บไข่ หนอน และตัวเต็มวัยไปทำลาย
2. ใช้ตัวห้ำ ตัวเบียน และเชื้อจุลินทรีย์ เช่น แมลงหางหนีบ แตนเบียนแมลงดำหนามมะพร้าว และเชื้อเมตตาไรเซียม
2.1 แมลงหางหนีบกินไข่ หนอน และดักแด้ ปล่อยแมลงหางหนีบ อัตรา 200 ตัว ต่อไร่
2.2 แตนเบียนแมลงดำหนามมะพร้าว (Asecodeshipinarum) ช่วยทำลายหนอนแมลงดำหนามมะพร้าว พฤติกรรมการเข้าทำลายของแตนเบียน เกิดจากเพศเมียที่ผสมพันธุ์แล้วจะใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปในลำตัวของหนอนแมลงดำหนามมะพร้าว หนอนแตนเบียนที่เกิดขึ้นภายในตัวแมลงดำหนามมะพร้าวฟักออกเป็นไข่ดูดกินของเหลว แล้วเข้าทำลายตัวแมลงในที่สุด ระยะการเจริญหนอนแมลงดำหนามมะพร้าวถูกแตนเบียนทำลาย เติบโตตั้งแต่ไข่จนถึงตัวเต็มวัยประมาณ 17-20 วัน ปล่อยแตนเบียนอะซิโคเดส อัตรา 5 กก./ไร่
3.ใช้สารเคมี ใช้สารเคมีที่มีอันตรายน้อยและสลายตัวเร็ว เช่น คาร์บาริล (เซฟวิน 85% wp) อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในแปลงเพาะกล้าพืชตระกูลปาล์ม ก่อนการเคลื่อนย้ายจากแหล่งที่มีการระบาดทุกครั้ง
ขอบคุณภาพ-ข้อมูล
ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999
ทักแชท https://m.me/kasetnewstv
ไลน์ @Kasetnews หรือกด
ช่องทำเกษตรอินทรีย์ https://bit.ly/เกษตรเพียวเพียว
—————————
กด Like และ ติดตามเพจ
เพื่อรับข่าวสารด้านเกษตรก่อนใครได้ที่นี่
#ช่องเกษตรนิวส์ ดูได้ที่กล่อง PSI หมายเลข 72